วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ผลงานสิ่งประดิษฐ์

ชื่อสิ่งประดิษฐ์

                      เครื่องย่อยใบไม้

การใช้ประโยชน์
                     สาเหตุที่กระผมและเพื่อนๆได้จัดทำเครื่องย่อยใบไม้นี้ขึ้นมา  ก็เพราะว่าในโรงเรียนของกระผม เป็นโรงเรียนที่ร่มรื่นล้อมรอบไปด้วยต้นไม้ต่างๆนาๆมากมาย  เมื่อใบไม้หล่นล่วงลงมาก็ทำให้พื้นที่ภายในบริเวณโรงเรียนเต็มไปด้วยใบไม้  ทำให้โรงเรียนของเราดูสกปรก  พรานโรงก็กวาดใบไม้ทิ้ง และทำลายโดยการเผาอยู่ทุกๆวัน  ซึ่งกระผมเห็นว่าการทำลายใบไม้โดยการเผานั้น  เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  จนเกิดภาวะเรือนกระจก  จนกลายเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อน  และกระผมคิดว่าใบไม้ที่กวาดทิ้งไปนั้นน่าจะนำมาใช้ประโยชน์อื่นๆได้อีก  กระผมและเพื่อนๆจึงได้คิดวิธีที่จะช่วยลดปริมาณใบไม้ภายในโรงเรียน โดยการคิดค้นการทำสิ่งประดิษฐ์ เครื่องย่อยใบไม้  นี้ขึ้นมา  เพื่อจะได้เป็นการง่ายต่อการใช้ในการย่อยสลายใบไม้  ด้วยวิธีการย่อยที่สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น  ทำให้เราสามารถช่วยลดการเผาใบไม้ได้อีกทางหนึ่ง  ซึ่งเราสามารถนำใบไม้ที่ย่อยไปใช้ประโยชน์ในด้านของการทำปุ๋ยหมักเพื่อใช้ในการเกษตร  และเป็นการทุ่นระยะเวลาในการย่อยให้เร็วขึ้นอีกด้วย

ชื่อเจ้าของผลงาน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
               1.  นายอภิสิทธ์      เขียวไทร
               2.  นายชูชีพ          แก้วประเสริฐ

ชื่อครูที่ปรึกษา 1.  อาจารย์จันทร์มณี  แตงอ่ำ       
 ครูที่ปรึกษาพิเศษ   อาจารย์ธันว์  อุดมผล

ชื่อโรงเรียน  วัดโบสถ์ศึกษา   ตำบล  วัดโบสถ์   อำเภอ  วัดโบสถ์   จังหวัด  พิษณุโลก
                     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39

 วัสดุที่ใช้
1.       เหล็กฉาก 10 ขนาด  1.5 นิ้ว
2.       เพลา 1 นิ้ว ยาว  60  ซ.ม.
3.       เหล็ก  1  แผ่น  2  ม.ล.
4.       บานพับ  2  ตัว
5.       มู่เลย์   3,6  นิ้ว
6.       เหล็กแผ่นขนาด  1  นิ้ว  ยาว  6  เมตร
7.       สายพาน B  67  1  เส้น
8.       มอเตอร์  1  HP
9.       น๊อต  12  ตัว
10.    สว่านไฟฟ้า
11.    ลูกหมู
12.    เลื่อย
13.    ตู้เชื่อม
14.    ตุ๊กตา  2  ตัว  ขนาด  1  นิ้ว
15.    แหวน  3  หุ่น  1  กก.
16.    ใบเจีย  3  ใบ
17.    ตะแกรง  1  แผ่น  ขนาด  23 40
18.    สีสเปรย์  (สีน้ำเงิน)  2  กระป๋อง

 ขั้นตอนการทำสิ่งประดิษฐ์ 
1.       ศึกษาหาความรู้ในอินเตอร์เน็ตและในสถานที่ต่างๆ
2.       ออกแบบเครื่องย่อยใบไม้
3.       ซื้ออุปกรณ์ต่างๆในการนำสิ่งประดิษฐ์  และวัสดุที่เหลือใช้
4.       ตัดเหล็กให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ
5.       ทำการประกอบเข้ารูปตามแบบในการทำโครงภายนอก
6.       ตัดเหล็กแผ่นขนาด  1  นิ้ว  ทำใบมีดและประกอบ
7.       นำมอเตอร์มาใส่ประกอบกับเข้ากับโครงสร้าง
8.       ทดสอบการหมุนรอบของใบมีด
9.       นำใบไม้มาใส่เพื่อทดลองว่าย่อยได้หรือไม่หลายๆครั้ง
10.    การทดลองสามารถใช้ได้จริง  และสามารถย่อยใบไม้ที่มีขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลงได้


ตารางบันทึกผลการทดลองเครื่องย่อยใบไม้
รายการ
เวลาที่ใช้
ขนาดรูตะแกรง
ผลการใช้
  ใส่ใบไม้ ½ กิโลกรัม
1.30 นาที
1.5 เซนติเมตร
ละเอียด
  ใส่ใบไม้ ½กิโลกรัม
1.28 นาที
1.5 เซนติเมตร
ละเอียด
 ใส่ใบไม้ ½ กิโลกรัม
1.25 นาที
1.5 เซนติเมตร
ละเอียด
ใส่ใบไม้ 1 กิโลกรัม
2.50 นาที
1.5 เซนติเมตร
ละเอียด
ใส่ใบไม้ 1 กิโลกรัม
2.47 นาที
1.5 เซนติเมตร
ละเอียด
ใส่ใบไม้ 1 กิโลกรัม
2.46 นาที
1.5 เซนติเมตร
ละเอียด



จากตารางผลการทดลองใช้เครื่องย่อยใบไม้ พบว่า เมื่อใช้เครื่องย่อยใบไม้ในการย่อยใบไม้ที่มีน้ำหนัก ½ กิโลกรัม
ใช้เวลา 1.25 นาที

 จุดเด่นของเครื่องย่อยใบไม้
                1. เครื่องย่อยใบไม้สามารถย่อยใบไม้ที่มีขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง
                2. เครื่องย่อยใบไม้สามารถเปลี่ยนขนาดรูตะแกรงให้มีขนาดตามที่ต้องการได้

จุดด้อยของเครื่องย่อยใบไม้
               1. เครื่องย่อยใบไม่มีน้ำหนักมาก
               2. เครื่องย่อยใบไม้เมื่อใช้งานจะเกิดเสียงดัง

ขนาดสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์
               กว้าง 52  เซนติเมตร
               ยาว   52  เซนติเมตร
               สูง  140   เซนติเมตร



บทความงานวิจัย

เรื่อง  การศึกษาเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของปลาดุกระหว่างเลี้ยงด้วยหอยเชอรี่กับอาหารสำเร็จรูป
The education compares with the progress of fierce hand valley fish feeds with a shellfish makes straight
for with the already cooked food

                                                                                                                      โดยจันทร์มณี  แตงอ่ำ

บทคัดย่อ
            งานวิจัยเรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของปลาดุกที่เลี้ยงด้วยหอยเชอรี่และอาหารสำเร็จรูปผู้จัดทำได้เล็งเห็นประโยชน์ของหอยเชอรี่ที่จะนำมาเลี้ยงปลาดุก  เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายโดยวัตถุประสงค์   ดังนี้ 
                   1. เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของปลาดุกที่เลี้ยงด้วยหอยเชอรี่และอาหารสำเร็จรูป
                   2. เพื่อศึกษาอาหารที่ทำให้ปลาดุกเจริญเติบโต
                   3. เพื่อศึกษาค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงปลาดุกที่เลี้ยงด้วยหอยเชอรี่และอาหารสำเร็จรูป เพื่อจะได้เป็นประโยชน์แก่ผู้เลี้ยงปลาและผู้ทำการเกษตร
                    จากการทดลองเป็นเวลา 1 เดือนได้พบว่าการเลี้ยงปลาด้วยหอยเชอรี่ทำให้ปลาเจริญเติบโตกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปเพราะในหอยเชอรี่มีสารอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของปลาและหาได้ง่ายจากทรัพยากรธรรมชาติ

บทนำ
                  ในปัจจุบันประชาชใหญ่นิยมบริโภคปลากันเป็นจำนวนมากทั้งปลาสลิดปลาตะเพียน และปลาดุก
ปลาดุกเป็นหนึ่งในปลานิยมบริโภค และปัจจุบันปลาดุกมีราคาแพง เพราะมีคนนิยมบริโภคมากปลาดุก
จึงมีจำนวนน้อยและตัวเล็ก เพื่อจะขายได้ราคาดี เลี้ยงปลาโตอย่างรวดเร็ว และเพียงพอต่อตลาด ผู้เลี้ยงจึงใช้
สารเร่งโต เพื่อให้ปลาดุกโตเร็ว ตัวโต ถ้าผู้บริโภคบริโภคกันมากๆอาจจะก่อให้เกิดสารเคมีตกค้างในร่างกาย
ซึ่งจะเกิดโรคต่างๆ
               ส่วนมากการเลี้ยงปลาดุกจะมีปัญหาเรื่องอาหาร เพราะ อาหารที่ใช้เร่งปลาดุกนั้นมีราคาแพง คือ
อาหารสำเร็จรูป ผู้จัดทำจึงได้คิดค้นวิธีที่จะแก้ไขโดยนำสิ่งที่เป็นอาหารตามท้องถิ่นมาศึกษาเปรียบเทียบ
อาหารสำเร็จ คือหอยเชอรี่ เพราะหอยเชอรี่หาได้ง่ายตามท้องนา อีกทั้งยังเป็นปัญหาของชาวนา
เพราะหอยเชอรี่ไปกัดกินต้นข้าวของชาวนาเสียหาย ชาวนาจึงต้องใช้สารเคมีกำจัดหอยเชอรี่ซึ่งมีราคาแพง
และเป็นอันตรายแก่ผู้ใช้ เราจึงนำหอยเชอรี่มาทดลองเพื่อใช้ประโยชน์

วัตถุประสงค์                                                                                                                                                                          
             1.  เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของปลาดุกที่เลี้ยงด้วยหอยเชอรี่และอาหารสำเร็จรูป
        2.  เพื่อศึกษาสารอาหารที่ทำให้ปลาดุกเจริญเติบโต
             3.  เพื่อศึกษาค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงปลาดุกที่เลี้ยงด้วยหอยเชอรี่และอาหารสำเร็จรูป

อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการทดลอง 
                            1.  ปลาดุก      6  ตัว                                                  7.  ผักตบชวา 10  กอ
                            2.  ผ้ายาง        2  ผืน                                                  8.  ดิน              5 ขีด
                            3.  จอบ           1 อัน                                                  9.  ตะปู          16  ตัว
                            4.  เสียม          1 อัน                                                10. ค้อน             1  อัน
                            5.  ตลับเมตร   1 อัน                                                11.  ถัง             15  ถัง
                            6.  ไม้              8  อัน                                               12. น้ำ              10  ลิตร

วิธีการทดลอง
                         แบ่งการทดลองเป็นขั้นตอน  3  ตอน  คือ                         
                        ตอนที่  1  ศึกษาการเจริญเติบโตของปลาดุกที่เลี้ยงด้วยหอยเชอรี่และอาหารสำเร็จรูป
                       1.  ขุดบ่อเลี้ยงปลาขนาดความกว้าง   60  ซม.  ยาว  70  ซม.
                       2.  ปล่อยปลาลงบ่อบ่อละ  3  ตัว น้ำหนักปลาดุกแต่ละบ่อรวม   5  ขีด
                       3.  ให้อาหารปลา  3  ขีด  เวลาเย็น
                       4.  จดบันทึกการเจริญเติบโตของปลาแต่ละบ่อในระยะเวลา 1 เดือน 
                       5 .สรุปการเจริญเติบโตของปลาดุก
                       ตอนที่  2   ศึกษาสารอาหารที่ทำให้ปลาดุกเจริญเติบโต
                       1.  ศึกษาสารอาหารในหอยเชอรี่และอาหารสำเร็จรูป
                       2.  จดบันทึกสารอาหารในหอยเชอรี่และอาหารสำเร็จรูป
                       3.  สรุปสารอาหารในหอยเชอรี่และอาหารสำเร็จรูป              
                      ตอนที่  3  ศึกษาค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงปลาดุกที่เลี้ยงด้วยหอยเชอรี่และอาหารสำเร็จรูป
                     1.  สำรวจค่าใช้จ่ายระหว่างหอยเชอรี่กับอาหารสำเร็จรูปในการเลี้ยงปลาดุก
                     2.  จดบันทึกค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงปลาดุกระหว่างหอยเชอรี่กับอาหารสำเร็จรูป
                     3.  สรุปค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงปลาดุกระหว่างหอยเชอรี่กับอาหารสำเร็จรูป

        ผลการวิจัย
          ตอนที่ 1 การเจริญเติบโตของปลาดุกที่เลี้ยงด้วยหอยเชอรี่และอาหารสำเร็จรูป

วันที่/เดือน/ปี ที่สำรวจ
น้ำหนักของปลาที่เลี้ยงด้วย
หอยเชอรี่
น้ำหนักของปลาที่เลี้ยงด้วย
อาหารสำเร็จรูป
10 / ธ.ค. / 53
500 กรัม
500 กรัม
13 / ธ.ค./ 53
550 กรัม
600 กรัม
16 / ธ.ค./ 53
600 กรัม
650 กรัม
19 / ธ.ค./ 53
650 กรัม
650 กรัม
22 / ธ.ค./ 53
700 กรัม
675 กรัม
25 / ธ.ค./ 53
750 กรัม
700 กรัม
28 / ธ.ค./ 53
800 กรัม
725 กรัม
31 / ธ.ค./ 53
825 กรัม
750 กรัม
3 / ม.ค./ 54
850 กรัม
800 กรัม
6 / ม.ค./ 54
875 กรัม
850 กรัม
9 / ม.ค./ 54
875 กรัม
875 กรัม
10 / ม.ค./ 54
925 กรัม
900 กรัม


               ตอนที่ 2  ผลการศึกษาสารอาหารที่ทำให้ปลาดุกเจริญเติบโต
             

ธาตุอาหารที่พบในหอยเชอรี่
ธาตุอาหารที่พบในอาหารสำเร็จรูป
โปรตีน         56.25
โปรตีนมากว่า  20 %
ไขมัน                1.65
ไขมันมากว่า  4%
แคลเซียม           6.91
กากน้อยกว่า 2%
ฟอสฟอรัส         0.82
-
ไฟเบอร์              5.27
-
เถ้า                     20.66
-


ตอนที่ 3 ศึกษาค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงปลาดุกที่เลี้ยงด้วยหอยเชอรี่และอาหารสำเร็จรูป


อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาดุก
ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงปลาดุก
1. หอยเชอรี่
ไม่เสียค่าใช้จ่าย
2. อาหารสำเร็จรูป
1 เดือนใช้ 9 กิโลกรัม 3 ขีด เป็นเงิน  225 บาท


 สรุปและอภิปรายผล
                จากการศึกษาเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของปลาดุกระหว่างเลี้ยงด้วยหอยเชอรี่และ
อาหารสำเร็จรูป พบว่าหอยเชอรี่มีสารอาหารที่ทำให้ปลาดุกเจริญเติบโตมากกว่าปลาดุกที่เลี้ยงด้วย
อาหารสำเร็จรูปและปลาดุกที่เลี้ยงด้วยหอยเชอรี่นั้นยังช่วยให้ลดต้นทุนในการเลี้ยงปลาดุกอีกด้วย 
สำหรับธาตุอาหารที่พบในหอยเชอรี่เป็นธาตุอาหารที่คล้ายคลึงกับธาตุอาหารที่พบในอาหารสำเร็จรูป
ที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของปลาดุก ส่วนค่าใช้จ่ายที่เลี้ยงปลาดุกด้วยหอยเชอรี่นั้น
จะไม่สิ้นเปลือง เพราะสามารถหาได้ตามธรรมชาติและเป็นการใช้ทรัพยากรให้มีคุณค่า
               ในการทดลองการเลี้ยงปลาดุกด้วยหอยเชอรี่นั้นปลาดุกมีการเจริญเติบโตที่ดีเพราะมี
สารอาหารที่จำเป็นต่อการเลี้ยงปลาดุกและยังสามารถนำมาเลี้ยงโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพราะหอยเชอรี่นั้น
เป็นทรัพยากรทางธรรมชาติหาได้ง่ายและจะได้ช่วยกำจัดหอยเชอรี่ในนาข้าวโดยไม่ต้องใช้สารเคมีกำจัด
ศัตรูพืชซึ่งมีราคาแพงและอันตรายต่อผู้ใช้

ข้อเสนอแนะ
             ควรศึกษาทดลองเพิ่มเติม เกี่ยวกับปลาชนิดอื่น เช่น ปลานิล ปลาทับทิม เป็นต้น มาทดลอง
เลี้ยงด้วยหอยชนิดอื่น เช่น หอยกาบ หอยขม เป็นต้น เพื่อให้พัฒนาการเลี้ยงปลาดุกให้ดีขึ้น ลดปัญหา
ค่าอาหารเลี้ยงปลามีราคาแพงและการใช้สารเคมีในการเลี้ยงปลาซึ่งเป็นอันตรายแก่ผู้เลี้ยงและผู้บริโภค

เอกสารอ้างอิง
ชวัลณัฐ    บุญภัคดี  และคณะ.(2547) โครงงานกระดาษลิตมัสวัดค่า pH จากผลไม้พื้นบ้าน.อัดสำเนา
รสรินทร์   ฝ่ามาย  และคณะ(2547)  โครงงานวิทยาศาสตร์วุ้นโอเอซิสประยุกต์. อัดสำเนา   
ศรัณยพงศ์  คงทอง  และคณะ.(2547)โครงงานวิทยาศาสตร์การศึกษาผลของวิตามินซีการเป็นสาร
              ต้านอนุมูลอิสร   อัดสำเนา
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(2552) วิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบ.กรุงเทพ :
               อินเตอร์เอ็ดดูเคชันพลายซัพพลายส์